ปัจจัยสำคัญในการปลูก[5] ของ ลิลี

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก

1. วัสดุปลูก ลิลลี่ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำ และอากาศดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ph 6 – 7 รักษาความชื้นในแปลงโดยการคลุมดิน ด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว

2. อุณหภูมิ ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิประมาณ 12 – 15 ซ.หากต่ำกว่านี้จะทำให้ยอดเจริญช้าเกินไป หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของลิลลี่ คือ กลางคืน 14 – 16 ซ. และกลางวัน 22 – 25 ซ.

3. ความชื้น ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ของลิลลี่ คือความชื้น สัมพัทธ์ ร้อยละ 80 – 85 ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความชื้น แบบกระทันหัน เพราะจะทำให้เกิดใบไหม้ (leaf scorn) ในพันธุ์ที่อ่อนแอ กับอาการนี้ หารมีการเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็น ค่อยไป จึงควรใช้การพรางแสง

การระบายอากาศ และการให้น้ำ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง อันรวดเร็วน

4. แสง ในช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิสูง ทำให้คุณภาพดอกต่ำ ในช่วงแดดจัดควร พรางแสงให้ ลิลลี่กลุ่มเอเชียติก และลองจิฟลอรัม ร้อยละ 50 ส่วนกลุ่ม ออเรียนเทิล ร้อบละ 70 การพรางแสง ยังช่วยรักษาความชื้นด้วย

การปลูก

แปลงปลูกควรยกแปลงสูง 20-30 ซ.ม กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซ.ม

ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ เมื่อได้รับหัวพันธุ์ ในลักษณะแช่แข็ง (-4 องศาเซลเซียส) ให้เปิดถุงพลาสติกในร่มมีหลังคา และปล่อยให้ละลายในถุง เป็นเวลา 1-2 วัน จากนั้น จึงนำไปปลูก โดยขุดหลุม และกลบดินเหนือหัวพันธุ์ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้รากที่เกิดขึ้นบนต้นเหนือหัวพันธุ์ เจริญได้สมบูรณ์ที่สุด ร้อยละ 90 ของการเจริญของลิลลี่ขึ้นอยู่กับรากนี้

การให้น้ำ

ควรให้น้ำ 2 – 3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น ในระยะแรกที่ปลูกใหม่ จากนั้น ควรรดน้ำวันละครั้ง ในช่วงเช้า พยายามให้ดินมีความชื้นอยู่ เสมอ

การให้ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมัก ปริมาณ 1 ลูกบาตรเมตร ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ให้ปุ๋ยครั้งแรก 3 สัปดาห์หลังปลูก ควรให้ปุ๋ย แคลเซี่ยมไนเตรต สูตร 15 – 0 – 0 อัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ต่อมาให้สูตร 12 – 10 – 18 ทุก 2 สัปดาห์ หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวพันธุ์ ควรให้ปุ๋ยที่มี โปแตสเซี่ยมสูง เพื่อช่วยในการพัฒนาหัว เช่นสูตร 13 – 13 -21 ทุก 2 สัปดาห์

การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว

ระยะที่เหมาะสมในการตัดดอกลิลลี่จะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ หลักการทั่วไปคือ ควรตัดดอกลิลลี่ ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มมีสี และพร้อมที่จะบานในวันถัดไป เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หรือสังเกตระยะก่อนดอกบาน 1 วัน เป็นระยะที่เหมาะสมในการตัดดอก การตัดดอกเร็วเกินไปจะทำให้ดอกบานช้า สีซีด จำนวนดอกบานน้อย และคุณภาพต่ำ ควรตัดที่ช่อ โดยเหลือต้นไว้เหนือดินประมาณ 10-20 ซม. จากนั้นทำการคัดเกรด ตามจำนวนดอก ความยาว และความแข็งแรงของก้าน ควรเอาใบที่โคนก้านใบออกทั้งหมดเป็นระยะประมาณ 10 ซม. เพื่อยืดอายุในการปักแจกัน และป้องกันน้ำเสีย มัดกำ คัดก้าน เนื่องจากดอกลิลลี่เสียหายง่าย หากได้รับแก๊สเอ็ทธิลีน หลังการตัดดอก ควรแช่ในสาร ชิลเวอร์ไธโอซัลเฟส อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่ในน้ำสะอาด ที่ปรับค่า pH เท่ากับ 3.5 เก็บที่อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส หากได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะสามารถเก็บดอกลิลลี่ในห้องเย็นเป็นเวลานานถึง 4 สัปดาห์